พระพุทธเจ้าทรงเน้นเรื่อง “อภิณหปัจจเวกขณะ”
คือ…ข้อที่บุคคลจะต้องนำมาพินิจพิจารณาบ่อยๆ
พิจารณาเนื่องๆ พิจารณาอยู่สม่ำเสมอว่า
เรามีความแก่เป็นธรรมดา…ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้…
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา…ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
เรามีความตายเป็นธรรมดา…ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
จากช่วงที่เกิดจนถึงช่วงที่ตายนั้น
บุคคลจะต้องประสบปัญหาหลักอยู่ ๒ ประการ
จึงทรงตอกย้ำให้พิจารณาอยู่สม่ำเสมอเช่นเดียวกันว่า
“เราจะต้องพลัดพรากจากของรัก
ของชอบใจทั้งหลายทั้งปวงไป”
พึงสังเกตว่า…เราเกิดมาในโลกนี้
จากจุดเพียงเล็กๆ เท่านั้นในส่วนของรูปขันธ์
และค่อยๆ มีการเจริญเติบโตขึ้นมา
ผ่านการเวลามาโดยลำดับ
จนคลอดออกมาจากครรภ์ของมารดา
และในที่สุด…สิ่งทั้งหลายที่เราไม่มี
ก็เริ่มมีขึ้นไปโดยลำดับ….แต่สิ่งเหล่านั้น
ก็ต้องพลัดพรากจากเราไปโดยลำดับเช่นเดียวกัน
แม้ในตัวของชีวิตเด็กก็ได้เปลี่ยนแปลงไป
ก่อให้เกิดความพลัดพราก
จากวัยของความเป็นทารกน้อยๆ
สู่วัยที่โตขึ้นมาโดยลำดับ
ทั้งบุคคลอันเป็นที่รัก…ของอันเป็นที่รัก
และแม้บุคคลอันเป็นที่ชัง…และของที่เราไม่ชอบ
ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราในช่วงใดช่วงหนึ่ง
แล้วในที่สุดก็ต้องพลัดพรากจากกันไป
และทรงสอนให้บุคคลพิจารณาว่า
“เรามีกรรมเป็นของของตน
จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ใครทำกรรมอันใดไว้
จะดีหรือชั่วก็ตาม
จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น”
ความจริง ๕ ประการนี้
โดยเฉพาะ เกิด…แก่…ตาย นั้น
เรียกว่าเป็น ” สภาวธรรม “
คือ มีอยู่ เป็นอยู่ ตามธรรมชาติธรรมดา
สิ่งมีชีวิต จะเรียกว่า เกิด..แก่..ตาย
สิ่งไม่มีชีวิต ท่านเรียกว่า เกิดขึ้น…ตั้งอยู่..และดับไป
เพราะฉะนั้น…เมื่อบุคคล
ได้พิจารณาถึงความจริงเหล่านี้บ่อยๆ ว่า
ธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้
สภาวะมันเป็นอย่างนี้
ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้
.
.
ที่มา : หนังสือ “นิเทศธรรม”
ธรรมนิพนธ์ พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ)
พิมพ์ครั้งที่ ๔ : ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๘