การศึกษาพระพุทธศาสนานั้น เมื่อมองจากภาคของการปฏิบัติจริงๆ เราสามารถสรุปรวมลงที่ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนา หรือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้สมบูรณ์ การทำจิตให้ผ่องแผ้ว แต่ประการสำคัญคือ การศึกษาในพระพุทธศาสนา จะต้องมีการพัฒนาการด้านปัญญา ความบริสุทธิ์ และความเมตตากรุณาขึ้นภายในจิต มองโลกและชีวิตอย่างรู้เท่าทัน พยายามหาประโยชน์จากทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนสัมผัส ดังที่พระพุทธเจ้าทรงประทานหลักไว้ว่า ประโยชน์ที่พึงเกิดขึ้นในที่ใดๆ โดยวิธีใดๆ ควรใช้ความพยายามในที่นั้น โดยวิธีนั้นๆ |
ผู้ฟัง อ่าน ย่อมได้ฟัง ได้อ่าน สิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ไม่เคยอ่าน สิ่งใดที่เคยฟัง เคยอ่านมาแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัดขึ้น สามารถลดละบรรเทาความสงสัยลงไปได้ ทำความเห็นของตนให้ถูก ตรงตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศแสดงไว้ได้ในขณะฟัง อ่านนั้น มีจิตผ่องใสด้วยศรัทธา ปัญญา ความรู้ |
ที่มา: “นิเทศธรรม” พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) |
ธรรมบรรยาย และ ธรรมนิพนธ์ | |
ท่านเจ้าคุณพระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) เมตตาอนุญาตให้นำมาเผยแผ่โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์ สาธุชนท่านใดประสงค์จะนำไปเผยแผ่ต่อเป็นธรรมทานสามารถทำได้ ท่านได้กล่าวอนุญาตว่าไม่สงวนลิขสิทธิ์ | |
ธรรมบรรยาย |
บันทึกการแสดงธรรมของท่านเจ้าคุณ พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) ณ ตึก ส.ว.ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๕๓ ได้แก่ พระสูตร, ธรรมก่อนฝึกอบรมจิต, จิตภาวนา รวมทั้งบรรยายธรรมแก่พระนวกะ ณ ตึก สว. ธรรมนิเวศ ในเรื่องนิเทศธรรม และการตอบปัญหาธรรม ในเรื่องส่องสิ่งสงสัย |
[ดูรายละเอียด] |
ธรรมนิพนธ์ |
ธรรมนิพนธ์ ที่นำมาลงไว้ที่นี้ ท่านพระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) ได้อนุญาตให้นำมาเผยแผ่เป็นธรรมทานโดยไม่สงวนลิขสิทธิ์ หนังสือเรื่องจากใจสู่ใจด้วยไมตรี (จดหมายจากพาราณสี ภาค ๑) เป็นหนังสือธรรมะเชิงสารคดี ที่ให้ทั้งข้อธรรมะ ความรู้ทางประวัติศาสตร์และความรู้ทางวัฒนธรรมแก่ผู้อ่าน ซึ่งผู้จัดทำได้นำมาลงไว้เพียงส่วนหนึ่ง เนื้อหาส่วนที่เหลือ รวมทั้งหนังสือเล่มอื่นๆ จะนำเสนอในโอกาสต่อไป |
[ดูรายละเอียด] |
สาระธรรม |
พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) ได้บรรยายหัวข้อธรรมในรายการ ธรรมะกับสังคม สถานีวิทยุศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย (พ.ศ.๒๕๕๓) โดยนำพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงพระราชทานไว้ในโอกาสต่างๆ ซึ่งมีสาระธรรมที่ประชาชนชาวไทยพึงศึกษาทำความเข้าใจ และน้อมนำมาปฏิบัติตามสมควรแก่ตน เพื่อให้ถึงพร้อมประโยชน์ตนและประโยชน์ชาติ |
[ดูรายละเอียด] |